การถ่ายภาพ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากขึ้น หลังจากโลกของเราเข้าสู่ยุคความเป็นดิจิตอล ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเทคโนโลยีที่ทำให้ทุกอย่างเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น การถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็เข้าถึงง่ายมากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นจากกล้องวิดีโอ กล้องคอมแพ็ค หรือ โทรศัพท์มือถือ เมื่อเข้าถึงง่าย ทุกคนทำได้ คราวนี้ก็จะมาเป็นเรื่องเทคนิคและไอเดียในการสร้างสรรค์กันบ้างว่าเราจะนำเสนออย่างไร วันนี้เราจะมานำเสนอเทคนิคถ่ายภาพเคลื่อนไหวว่ามีอะไรบ้าง
เทคนิคชัตเตอร์เร็ว
เทคนิคแรก เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ต้องบอกว่าเกิดจากความยอดเยี่ยมของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นทำให้เราสามารถทำอะไรที่ไม่เคยทำได้มาก่อน เทคนิคชัตเตอร์เร็ว หรือ High speed shutter ก็คือ การจับภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง เพื่อทำให้เรามองเห็นอะไรที่เห็นได้ยาก ได้ง่ายมากขึ้น อย่างเช่นการกระเซ็นของน้ำที่เกิดจากการกระแทก หรือ ปะทะ ภาพที่ได้ก็จะเป็นเราเห็นหยดน้ำแบบชัดเจนทีเดียว หรือจะเป็นการเคลื่อนไหวของหน้าคน สัตว์ ในแต่ละอิริยาบถที่เราอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนก็ได้ วิธีการทำภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ให้ตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/500 วินาทีขึ้นไป แต่เราจะต้องดูเรื่องแสงด้วย ถ้าแสงไม่ดีภาพก็จะออกมาไม่สวย แต่ถ้าแสงดี องค์ประกอบดี ภาพจะแปลกและสวยงามในเวลาเดียวกัน
เทคนิคชัตเตอร์ต่ำ
เทคนิคที่สอง เป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับข้อแรก แบบสุดขั้วเลย หลายคนเกิดคำถามขึ้นว่า ถ้าตั้งชัตเตอร์ความเร็วต่ำภาพมันจะออกมาสวยเหรอ คำตอบก็คือ มันอาจจะไม่ได้สวยในแบบอุดมคติที่บอกเลยว่า ภาพไหวดูเบลอมันก็มีเสนอในตัวเองเหมือนกัน แต่วิธีนี้เราจะต้องใช้เครื่องมือช่วยเพื่อให้กล้องนิ่ง อย่างขาตั้งกล้อง เป็นต้น ส่วนความเร็วตั้งไว้ที่ 1/30 – 1/15 วินาที กำลังสวย
เทคนิคภาพต่อเนื่อง
อีกหนึ่งเทคนิคที่ง่าย แต่ได้ใจ และ ได้อะไรมากกว่าที่คิด ก็คือ เทคนิคการถ่ายภาพต่อเนื่อง วิธีการนี้จุดเด่นอยู่ที่เสน่ห์ของการเคลื่อนไหวที่อาจจะตั้งธีมการเคลื่อนไหวไปทางเดียวกัน เพื่อให้เห็นอิริยาบถแบบตั้งแต่ต้นจนจบ หรือ จะเป็นอิริยาบถที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เห็นความแตกต่างของแต่ละอิริยาบถ ซึ่งความแตกต่างนั้นจะทำให้เกิดความน่าสนใจและน่าติดตามไปพร้อมกัน
เทคนิค แพนนิ่ง
เทคนิคการแพนนิ่ง เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เราเอามาใช้กับ วิธีการถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ดีเลย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเราต้องการจะเบลอฉากหลังเล็กน้อย แล้วชูจุดเด่นไปที่ภาพเคลื่อนไหวแทน พอฉากหลังเบลอ ก็จะทำให้วัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่ดูชัดขึ้นกว่าเดิม จนถึงรายละเอียดที่ทำให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวด้วยอย่าง หยดน้ำ, ฝุ่น, ใบไม้ เทคนิคนี้วิธีการอยู่ที่การตั้งชัตเตอร์ที่ควรใช้เพียงแค่ 1/60 เท่านั้น
เทคนิคตามแสง/ย้อนแสง
เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั้น แสงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากทีเดียว เราเลยเอาตรงนี้มาจัดเป็นเทคนิคได้สองอย่าง หนึ่ง ถ่ายแบบตามแสง โดยเราอาจจะหันหลังให้ดวงอาทิตย์ หรือ แหล่งกำเนิดแสง เพื่อให้แสงสาดไปที่วัตถุเคลื่อนไหวนั้นอย่างเต็มที่ อันนี้ข้อดีจะทำให้เราเห็นรายละเอียดของวัตถุเคลื่อนไหวนั้นได้ดี ภาพออกมาสวย แต่เราอาจจะต้องไปจัดการเรื่องเงาที่ทอดออกไปบังวัตถุด้วย สองเทคนิคย้อนแสง หลายคนอาจจะคิดว่า มันไม่ดี แต่เราสามารถจัดให้มันกลายเป็นดีได้ อย่างเช่น การถ่ายภาพคนกระโดด โดยมีพระอาทิตย์อยู่ด้านหลัง จะทำให้เห็นภาพคนกระโดดได้ชัด แต่เราต้องมั่นใจด้วยว่าภาพที่ถ่ายออกมาจะคมชัด หรือ จะเป็นการเซ็ตฉากพระอาทิตย์กำลังตกดิน แล้วให้เคลื่อนไหวโดยวัตถุเป็นเงามืด แบบนี้ก็ได้เหมือนกัน ต้องบอกก่อนว่าแม้จะมีเมนูช่วยเหลือในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวแต่เราเองก็ต้องฝึก คิดค้นไอเดียใหม่ๆตลอด จะทำให้การถ่ายภาพเคลื่อนไหวง่ายขึ้นเยอะ